ICT Sustainable Development Benchmark
ผลการศึกษาของหัวเว่ยชี้ถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
หัวเว่ยเผยรายงาน ICT Sustainable Development Benchmark เมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นตัวเร่งสำคัญในการผลักดันให้ประเทศต่างๆบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals หรือ SDGs)
การศึกษาฉบับนี้ได้ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)กับความก้าวหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 15 ประเทศ1รายงานของหัวเว่ยพบว่าการลงทุนด้านไอซีทีและความก้าวหน้าเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความสัมพันธ์กันถึงร้อยละ 90 ใน 6 ด้านด้วยกัน อันได้แก่เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 4การศึกษาที่เท่าเทียม เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ เป้าหมายที่ 9อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายที่ 11เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประเทศที่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ดีจะมีความก้าวหน้าด้านการพัฒนาเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยในทางกลับกันประเทศที่มีการลงทุนด้านไอซีทีน้อยกว่าจะมีความล้าหลังในการก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นความพยายามที่จะหยุดปัญหาความยากจน สร้างความเจริญให้เกิดขึ้นถ้วนหน้าและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ1 ประเทศสวีเดน สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับอามิเรสต์ โคลัมเบีย เม็กซิโก จีน ไทย อียิปต์ อินโดนีเซีย เคนยาอินเดีย และปากีสถานครอบคลุมหลากหลายด้าน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทั้งหมดล้วนต้องพึ่งพาพลังของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย” มร. เควิน เทาประธานคณะกรรมการการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนของหัวเว่ย กล่าว“ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นบริษัทชั้นนำด้านไอซีทีเรามีความสนใจเป็นอย่างมากในด้านการมีส่วนร่วมของไอซีทีที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตและยกระดับมาตรฐานชีวิตของผู้คน”
จากรายงานพบว่า แต่ละความสัมพันธ์นั้นมีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายที่ 9มากที่สุด ซึ่งส่งเสริมระบบสาธารณูปโภค อุตสาหกรรม และนวัตกรรมอันเป็นภาคส่วนที่ทำให้สังคมมีประสิทธิภาพและผลิตผลมากขึ้นสร้างงานและโอกาสการลงทุนรวมถึงสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี“ปัจจุบัน ระบบสาธารณูปโภคหลักส่วนใหญ่ควบคุมด้วยเทคโนโลยีไอซีทีอาทิ ระบบการจ่ายไฟฟ้า น้ำ ศูนย์กลางการขนส่ง และอื่นๆ อีกมากมาย”มร. เทา กล่าว“ซึ่งทำให้สาธารณูปโภคด้านไอซีทีกลายเป็นหลักสำคัญทางเศรษฐกิจไม่เพียงแค่สำคัญต่อระบบน้ำ ไฟ หรือโลจิสติกส์แต่ยังรวมไปถึงการสร้างเสริมในด้านต่างๆการเข้าถึงบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตทำให้คนได้รับการศึกษา เริ่มต้นธุรกิจสร้างงานและอื่นๆ อีกมากมาย”“องค์กรเอกชนก็ต้องเล่นตามบทบาทของตัวเอง” มร. เทา กล่าว“นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาเมื่อ 30 ปีก่อนหัวเว่ยได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยงบประมาณแต่ละปีกว่าร้อยละ 10 ของรายได้รวมของบริษัทในปีที่ผ่านมาบริษัทใช้งบกว่าร้อยละ 14 หรือราว 11,000ล้านเหรียญสหรัฐเราเชื่อว่าการลงทุนนี้จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาวไม่เฉพาะกับหัวเว่ย แต่กับทุกธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย”
ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับงานวิจัยฉบับนี้ หัวเว่ยเน้นศึกษาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 ด้านโดยแต่ละเป้าหมายมีตัวชี้วัด 4ตัวที่สอดคล้องกับตัวเลขของเป้าหมายในการประเมินความก้าวหน้าและดำเนินการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดใน 15 ประเทศซึ่งรวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาที่มีระดับของพัฒนาการด้านไอซีทีที่ต่างกัน สำหรับตัวชี้วัดด้านไอซีที หัวเว่ยใช้ตัวชี้วัด 11ตัวจากดัชนีชี้วัดพัฒนาการด้านไอซีทีตัวล่าสุดของ ITUและทดสอบความสัมพันธ์โดยทบทวนประสิทธิภาพด้านไอซีทีและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแยกกันแล้วจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบกันเป็นมาตรฐานเดียวเพื่อสร้างเป็นมาตรฐานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านไอซีที ประจำปี 2017 ท่านสามารถดูรายงานการวิจัยฉบับเต็มได้ที่ www.huawei.com/en/sustainability.
ติดตามเราได้ที่
http://www.linkedin.com/company/Huawei
http://www.twitter.com/Huawei
http://www.facebook.com/Huawei
http://www.google.com/+Huawei
http://www.youtube.com/Huawei