ซินโครตรอนไทยหนุนนักวิจัยอาเซียน
ซินโครตรอนไทยหนุนนักวิจัยอาเซียน ผลักดันงานวิจัยเทียบเท่าสากล
แสงซินโครตรอนเป็นเทคโนโลยีแสงขั้นสูงที่สามารถศึกษาถึงโครงสร้างระดับอะตอมของธาตุชนิดต่างๆ ได้จึงนำไปประยุกต์เพื่อรองรับงานวิจัยได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร เกษตรกรรมการแพทย์หรืออุตสาหกรรม ซึ่งในประเทศไทยมีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ตั้งอยู่ ณห้องปฏิบัติการแสงสยาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมาปัจจุบันซินโครตรอนมุ่งสนับสนุนงานวิจัยจากภูมิภาคอาเซียนด้วยการละเว้นค่าค่าธรรมเนียมในการเข้าใช้บริการและการมอบทุนวิจัยให้กับผู้ได้รับการคัดเลือกผ่านการเสนอโครงการเพื่อให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอนของภูมิภาคอาเซียนให้เทียบเท่าสากล นี่คือส่วนหนึ่งของนักวิจัยจากอาเซียนที่เข้ามาใช้บริการแสงซินโครตรอนเป็นครั้งแรกที่ซินโครตรอนได้ต้อนรับนักวิจัยเพื่อเข้าทำการทดลองจากประเทศพม่า คือ ดร. เค เคียง อูจากคณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยแห่งมันฑะเลย์ ซึ่งได้กล่าวถึงการมาทำการวิจัยที่สถาบันฯว่า
“ดิฉันได้เคยมีโอกาสเข้ามาศึกษาดูงานที่ซินโครตรอนประเทศไทย จึงได้ตัดสินใจเข้ามาทำการทดลองโดยดิฉันได้เข้ามาทำการวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนในด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้วยเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (Micro-XRF) ในระบบลำเลียงแสงท 6bซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับการศึกษาองค์ประกอบของธาตุที่อยู่ในตัวอย่าง เช่นการหาส่วนประกอบที่มีเป็นสารปนเปื้อนในดินและหินจากประเทศพม่าเพื่อในอนาคตจะสามารถหาสาเหตุและลดการปนเปื้อนสารพิษในย่านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมได้”นอกจากนี้ยังมีคุณ แอนซินตี บินติ ซาโรนี นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งมาลายา ประเทศมาเลเซียซึ่งได้เข้ามาใช้บริการแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทยเป็นครั้งที่สองแล้ว
“การกลับมาครั้งนี้เพราะดิฉันประทับใจในประสิทธิภาพของเครื่องมือและบุคลากรที่คอยให้คำแนะนำและดูแลเป็นอย่างดีทั้งในด้านการวิจัย ให้บริการ ที่พักและการเดินทางซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้การทำวิจัยในครั้งนี้สำเร็จไปด้วยดี ทั้งยังได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจถ้ามีโอกาสจะกลับมาใช้บริการแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทยอีกอย่างแน่นอน”คุณเอเลนอร์ ออเลการีโอ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า“ดิฉันได้เข้ามาใช้บริการแสงซินโครตรอนในระบบลำเลียงแสงที่ 5.1 ด้วยเทคนิคเอกซเรย์เพื่อพัฒนาหินซีโอไลต์ซึ่งเป็นหินลาวาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหวังว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งการดูดซับมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และการกำจัดขยะซึ่งดิฉันมองว่าระบบลำเลียงแสงเป็นจุดแข็งอย่างมากที่ซินโครตรอนเพราะมีเครื่องมือที่สามารถทำการทดลองได้หลากหลาย จึงสามารถรองรับงานวิจัยที่หลากหลายด้วยเช่นกัน”
ศาสตราจารย์ดาร์มินโต และ ดร.มาลิค อันเจ บากิยาห์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์จากสถาบัน ITS (Institut
Teknologi Sepuluh Nopember) เมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซียซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยมาศึกษาดูงานและร่วมประชุมสัมมนาที่สถาบันฯ“ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในการมาทำการทดลองที่ซินโครตรอน ซึ่งพวกเราได้รับการแนะนำมาโดยเพื่อนนักวิจัยอีกท่านโดยได้เข้ามาใช้งานระบบลำเลียงแสงที่ 1.1ด้วยเทคนิคการดูดกลืนด้วยรังสีเอ็กซ์เพื่อศึกษาการเกิดแม่เหล็กของวัตถุที่ไม่นำแม่เหล็กการทดลองอาจจะต้องทำหลายๆครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ละเอียดจึงได้วางแผนมาทำการทดลองเพิ่มเติมที่ซินโครตรอนอีกครั้ง ถึงแม้จะมาได้ไม่นานแต่พวกเรารู้สึกประทับใจในการเข้าถึงที่เอื้อต่อนักวิจัยอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการด้านที่พักและการเดินทางถึงแม้ที่ตั้งของสถาบันจะห่างไกลจากกรุงเทพ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการทำงานแต่อย่างใดพวกเราพอใจเป็นอย่างมากกับการเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่”นอกจากการสนับสนุนด้านวิจัย ทางสถาบันฯยังมีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์อาเซียนและการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ในด้านเทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแสงซินโครตรอน ผู้ที่สนใจเข้าใช้บริการแสงซินโครตรอนสามารถเสนอโครงการมายังสถาบันฯ
โดยสามารถสอบถามที่ ส่วนบริการผู้ใช้ เบอร์โทรศัพท์ 044-217-040 ต่อ 1602-1605 รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.slri.or.th