Readspread.com

News and Article

ไม่กินอาหารดิบ ลดพฤติกรรมเสี่ยงโรคทางเดินอาหาร

มหิดล อาจารย์ ม.มหิดล แนะรณรงค์เพิ่ม “ไม่กินอาหารดิบ” ลดพฤติกรรมเสี่ยงโรคทางเดินอาหารใกล้หน้าร้อนเข้ามาทุกทีหน่วยงานสุขภาพต้องออกมาทำหน้าที่เตือนประชาชนตามปฏิทินการรณรงค์ที่หน่วยงานเหล่านี้จัดทำไว้อาหารการกินถือเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคทางเดินอาหารมากมาย

ปัจจัยของการสุขาภิบาล การเตรียม การปรุง การอุ่น การถนอมตลอดจนการรับประทานอาหาร มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษโรคท้องเสียต่างๆ ได้ทั้งสิ้น ผลการวิจัยเมื่อปี 2556 พบว่ายังมีสาระสำคัญต่างๆอีกหลายอย่างที่ยังคงทำให้เราไปไม่ถึงพฤติกรรมเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามข้อความที่ใช้ในการรณรงค์ในเรื่องของการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”

ผศ.ดร.มลินี สมภพเจริญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล เผยผลการวิจัยว่าเรื่องกินร้อน รวมถึงการกินสุก พบว่าประชาชนทั่วไปและแม่ค้าขายอาหารปรุงสุกยังไม่ทราบถึงวิธีการอุ่นอาหาร โดยเฉพาะอาหารเสียง่ายควรจะอุ่นทุกๆ 1 ชั่วโมงและสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินร้อน คือเมนูสำรับกับข้าวของคนในภาคต่างๆ หรืออาหารประจำถิ่นโดยเฉพาะเมนูที่มีอาหารดิบๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ส้มตำปูปลาร้า ปลาที่จับจากบึงหนองธรรมชาติแล้วนำมารับประทานเลย ทำให้เสี่ยงต่อโรคพยาธิใบไม้ตับ และเมนูที่มีคติความเชื่อแฝง เช่น การกินลาบเนื้อสัตว์ดิบๆ ของภาคเหนือตามคติความเชื่อที่ว่าเมื่อบ้านใดมีงานบุญต้องมีการทำลาบจากเนื้อสัตว์ดิบเลี้ยงแขกที่มาช่วยงาน เพราะเป็นการความเชื่อเกิดเป็นมงคลแก่ผู้มาร่วมงาน และแขกที่มาช่วยงาน หรือหญิงตั้งครรภ์ถ้าเป็นบุตรชาย การกินลาบดิบจะทำให้บุตรชายในครรภ์แข็งแรงนั้น

จากผลสำรวจพบว่า ชาวบ้านไม่สามารถอ้างผลสรุปพฤติกรรมการกินในบางเรื่องได้ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงใหม่ๆ มากมาย ตัวอย่างที่หยิบยกมานี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนบางกลุ่มก็ยังคงเลือกที่จะบริโภคเนื้อสัตว์ดิบ ตามความเชื่อและภูมิลำเนาอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเกิดพฤติกรรมเสี่ยงด้านใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ แทนที่พฤติกรรมเก่าที่รณรงค์ปรับแก้ได้สำเร็จแล้ว เรื่องช้อนกลาง พฤติกรรมการใช้ช้อนกลาง หรือจัดให้มีภาชนะส่วนกลาง ยังพบว่าเมื่อต้องบริโภคอาหารและน้ำดื่มร่วมกัน ยังมีการใช้ของส่วนกลาง ช้อนกลาง กระบอกน้ำส่วนกลางน้อยมาก ยกตัวอย่าง กรณีไปเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวนาชาวไร่ต้องมีกระติกน้ำใบใหญ่ติดตัวไป ก็ควรมีกระบอกน้ำกลางที่ตักน้ำจากกระติกเพื่อใส่ภาชนะตัวเองอีกรอบ

เพื่อป้องการโรคติดต่อที่จะเกิดขึ้น เรื่องการล้างมือ คนส่วนใหญ่ใช้น้ำยาล้างมือที่กดจากขวดน้อยมากและบางส่วนยังคงใช้สบู่ในการล้างมือ ซึ่งการล้างมือกดจากขวดนั้นจะมีความสะอาดมากกว่าการล้างมือจากสบู่ที่ยังคงทิ้งคาบสกปรกไว้ที่ก้อนสบู่และอาจทำให้สบู่ก้อนนั้นกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคสำหรับผู้สัมผัสที่เป็นคนล้างมือคน ถัดไปได้

ดังนั้นการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2552 ที่มีการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ 2009 สามารถนำมากระตุ้นเตือนประชาชนได้ใหม่โดยอาจปรับเสริมเพิ่มคำเหมือนบางพื้นที่ทำ เช่น กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ไม่กินดิบเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับพฤติกรรมเสี่ยงที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และหวังว่าในปีนี้ หากมีการนำ ข้อความสาระสำคัญ (Key message)นี้กลับมาจะมีส่วนช่วยในการลดการระบาดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

About Post Author

เขียนความคิดเห็น

Copyright © Readspread.com ติดต่อฝ่ายข่าว Tel.089-922-7859 Email/[email protected] | Newsphere by AF themes.