ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส อาจชนโลกอีก 48 ปีข้างหน้า

สิทธิพร เดือนตะคุ เจ้าหน้าทีสารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร. ได้เรียบเรียงงานเขียนดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส ซึ่งอยู่ในกระแสความสนใจของประชาชนในช่วงนี้ว่า เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้เปิดเผยวงโคจรของอะโฟฟิสมีความเปลี่ยนแปลงและอาจพุ่งชนโลกประมาณวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2611 หรืออีก 48 ปีข้างหน้าDave Tholen
นักดาราศาสตร์ประจำสถาบันดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาวาย ผู้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสมากว่า 16 ปี ได้อธิบายถึงผลการสำรวจล่าสุดว่า การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยเกิดจากการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์เรียกว่า ยาคอฟสกีเอฟเฟค (Yarkovsky effect) ส่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบนวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสจากเดิมที่คำนวณไว้ปีละ 170 เมตร ซึ่งมากพอที่อาจจะมีโอกาสพุ่งชนโลกในปี พ.ศ. 2611
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โอกาสการเกิดขึ้นมากที่สุดตาม Sentry Risk Table ขององค์การนาซาคือ 1 ใน 150,000 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.00067ปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ได้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสอย่างต่อเนื่อง อัพเดทข้อมูลล่าสุดและคำนวณอย่างระมัดระวัง ซึ่งข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ซูบารุในเดือนมกราคมถึงมีนาคม
ช่วยให้วัดตำแหน่งของอะโพฟิสได้อย่างแม่นยำ และสามารถประมาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสได้ นั่นคือ 370 เมตร การเข้าใกล้โลกมากที่สุดครั้งถัดไป คือวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2572 ซึ่งอาจทำให้สามารถมองเห็นดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า
นักดาราศาสตร์ต่างเฝ้ารอการเข้าใกล้ครั้งนี้เพราะเป็นโอกาสที่จะได้ข้อมูลของวงโคจรที่แม่นยำ ผลของแรงโน้มถ่วงและแสงอาทิตย์ที่มีผลกับวงโคจรของอะโฟฟิสดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2547 โดยหอดูดาวแห่งชาติคิตพีค (Kitt Peak National Observatory) หากการพุ่งชนเกิดขึ้นจะทำให้เกิดแรงระเบิดที่เทียบเท่ากับระเบิด TNT จำนวน 880 ล้านตัน